ReadyPlanet.com
dot dot
Drum Crops article

 

 

แปลและเรียบเรียงจากบทความใน dci.org หัวข้อ "about dci"

โดย วิศว กนิษฐสวัสดิ์ ลิขสิทธิ์ของ : ACT Band

 

 

 

วงในไสตล์ Drum corps นั้น ชื่อเต็มๆ ก็คือ Modern junior drum and bugle corps เป็นองค์กรอิสระของคนวัยหนุ่มสาว บางวงมีสมาชิกมากถึง 135 คน อายุตั้งแต่ 14-22 ปี คนเหล่านี้ทำงาน,ซ้อมตลอดช่วงฤดูร้อน เพื่อแสดงสั้น ๆ เพียง 11 นาทีเท่านั้น

 

เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงก็ได้แก่ Horn (แตร), เครื่องประกอบจังหวะ เช่น กลองหลากหลายชนิด และอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ธง, rifles (ปืน), ดาบ(sabres), และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีการแสดงสนามอเมริกันฟุตบอลล์ (หรือสนามอื่นๆ แล้วแต่กรณี)

 

สิ่งที่แตกต่างจากวงมาร์ชชิ่งธรรมดาก็คือ วงแบบ drum corps ไม่มี woodwinds (clarinets, flutes, etc.) ในวง, และวงแบบ drum corps มีเครื่องทองเหลืองบางอย่างที่ไม่เหมือนวงมาร์ชิ่งทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นๆ กัน (ยกตัวอย่างเช่น drum corps ไม่มี slide trombone: ผู้แปล)

 

 

 

Drum corps มีความแน่นของดนตรี และมีลีลาสีสันการแสดงจัดจ้าน, มีความยากในการแสดงมากกว่าวงมาร์ชิ่งทั่วไป

 

นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนดอื่น ๆ (หรือเรียกว่าเป็นพันธะสัญญาร่วมกันของพวกเขาก็ได้)ของdrum corps เช่น : ทุกคนจะต้องซ้อมด้วยกันเป็นเวลา 3-4 อาทิตย์ ทุกวัน และเดินทางเพื่อไปทัวร์(ทั้งแข่งและโชว์) เป็นเวลา 8 อาทิตย์ โดยไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ได้แต่ซ้อมๆๆๆๆๆๆๆ เท่านั้น เชื่อหรือไม่ว่า หลายคน ต้องจ่ายเงิน เพื่อไปเล่นในวงที่ตัวเองต้องการ (ไม่ได้เชิญมาเล่น หรือเล่นให้ฟรีๆ นะ)

 

จะเป็นสมาชิกของวงได้นั้น โดยทั่วไป ต้องผ่านการกระบวนคัดเลือกอย่างโคตรยาก เพียงเพื่อที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าสู่วงที่ตัวเองต้องการ และข้อสุดท้าย แต่สำคัญที่สุด drum corps (ส่วนใหญ่ ไม่ทุกวง) ไม่ได้เป็นวงโรงเรียนหรือวงของมหาลัย (เป็นวงอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร)

 

Drum corps แบ่งออกเป็น 3 divisions ซึ่งตัววงเองต้องหาให้ได้ก่อนว่า วงของของตัวเองนั้น เป็นดิวิชั่นไหน จะได้เลือกตารางเวลาในการทัวร์ที่เหมาะสมกับเงินของวง ทรัพยากร และแนวคิดของวงให้ได้เหมาะสมที่สุด

 

การแบ่ง divisions ขึ้นอยู่กับจำนวนนักดนตรี

- Division I มีนักดนตรีมากถึง 135 คน

- Division II มีนักดนตรี 80-135 คน

- Division III เล็กสุด มีนักดนตรี 30-70 คน

 

วงที่มีนักดนตรีอยู่ระหว่าง 70 - 80 คน ต้องเลือกว่า ตัวเองอยากอยู่ Division ไหน Division II หรือ III และ สำหรับวงใน Division II ที่ต้องการจะข้ามรุ่นไปแข่งกับ Division I จะต้องมีกระบวนการพิเศษที่จะเลื่อนขั้นขึ้นไปได้

 

อายุของนักดนตรีก็หลากหลายกันออกไปตามแต่ละ divisions

• Division III เด็กสุดส่วนมากต่ำกว่า 10 ขวบ

• แต่เด็กสุดของ Division I อาจจะอายุน้อยที่สุดแค่ 14- 15 ปี เท่านั้น

 

ข้อกำหนดของ DCI นั้น อายุสูงสุดคือ ต้องไม่เกินกว่า 21 ปี (คือ 21 ok หรือน้อยกว่าก็ได้) ถ้ามากกว่านี้เรียกว่า อายุเกินแข่งหรือ “aged out”

 

แต่ละ division ก็มีมาตรฐานการตัดสินที่ไม่เหมือนกัน(คนละ “sheet”หรือคนละข้อสอบนั่นเอง)

 

โดยที่ Division I จะเป็นการโชว์ที่ยากที่สุด

 

สำหรับวงใน division ที่ต่ำกว่า บางทีก็เป็นวงในสังกัดของ Division I แต่เป็นวงเด็กๆ รุ่นใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาแทนวงรุ่นพี่ (คือวงใหญ่ๆ เก่งๆ พวกนี้จะมีวงระดับเด็กๆ ชื่อเดียวกัน มาเป็นวงทีม a, b, c ด้วย) , ซึ่งก็ทำให้นักดนตรีรุ่นจิ๋วๆ ประมาณ 8 ขวบสามารถเล่น drum corps และสามารถพัฒนาตัวเองมาเล่นวงจริงได้ และฝังตัวอยู่ในวงนั้นตั้งแต่เด็กจนกระทั่งกลายเป็นสมาชิกรุ่นเก๋าไปเลย (เลยอายุแข่งก็ยังทำงานให้วงได้ต่อ เป็นรุ่นพี่หรือครูฝึก staff ต่อไป ฯลฯ)

 

มีหลายวงที่อยู่ในระดับอื่นๆ อีกนอกจาก 3 กลุ่มนี้เช่น วงที่ตั้งในพื้นที่ ตามเมือง วงของตำบล, วงแบบซ้อมกันเวลาว่างๆ เล่นๆ , ซึ่งวงพวกนี้ซ้อมกันแค่อาทิตย์ละสองหรือสามครั้ง และแสดงแค่ตอนวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น นี่ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กที่ไม่สามารถมาซ้อมได้เนื่องจากติดเรียน ติดงาน ติดกวดวิชาฯลฯ และพวกที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนไกลๆ ได้

 

จริงๆ แล้วการทัวร์ไปกับวงเก่งๆ หรือว่าเดินทางไปที่โน่นที่นี่มันก็ดีอยู่แต่ เพียงแค่ได้ไปเล่นในวง drum corps นี่ก็นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่าเพียงพอแล้วไม่ว่าจะเล่นกับวงไหน

 

เค้าบอกว่า it’s not where you march, it’s that you march

ไม่สำคัญว่าเล่นกับวงไหนแต่สำคัญที่ว่า คุณได้เล่นวง drum corps แค่นี้ก็ "จงภูมิใจ" ได้แล้ว

 

 

"มีอะไรบ้างใน drum corps ผู้เล่น Drum corps แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

 

1. Brass (เครื่องทองเหลือง)

ในส่วนของเครื่องทองเหลือง หรือ brass line, มีเครื่องดนตรี 5 ชนิดคือ

• trumpet (ให้เสียง soprano ),

• mellophone (ให้เสียง alto )

• baritone (ให้เสียงtenor/baritone )

• euphonium (ให้เสียง baritone voice), และ

• contrabass (ให้เสียง bass )

 

ยิ่งเสียงต่ำเท่าไหร่ เครื่องก็ใหญ่ขึ้นเท่านั้น trumpet จะหนักประมาณ 2.2 -2.7 กก. , แต่ contra (เบส) , หนักถึงประมาณ 27.2 กิโลกรัมเลยทีเดียว !! เรียกได้ว่าคล้ายๆ จะแบกรถคันย่อมๆ ไว้เลยนะ

 

2. Percussion (เครื่องประกอบจังหวะ ) มี 2 กลุ่ม ได้แก่ Back battery และ Front ensemble

 

- Back Battery (หรือเรียกว่าพวก “drumline”) กลุ่ม back battery คือ

• พวกกลองแต๊กหรือ snare drums

• tenor drums (หรือพวก quads ซึ่งเป็นกลองที่เป็นชุดอาจจะเป็น 4-6 ลูกเล็ก มีเสียงแตกต่างกัน) และ

• bass drums (หรือกลองใหญ่ เดี๋ยวนี้มีเสียงแตกต่างกันไล่เสียงกันไปและมีขนาดกัน ใช้ผู้เล่นใบละคน)

 

- Front ensemble หรือ pit percussion คือพวกที่เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอยู่ข้างหน้า พวก front ensemble

 

ขยายความก็คือพวกที่เล่นเครื่องดนตรีที่เรียกว่า คีย์บอร์ดเปอร์คัสชั่น (หมายถึงพวกเครื่องประกอบจังหวะที่มีคีย์บอร์ด เช่น marimba และ xylophone, ซึ่งคีย์ทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์, และ vibraphone และ bells (คนไทยสมัยโบราณเรียกนิ้งหน่องไง) , ซึ่งคีย์ทำด้วยโลหะ -- รวมถึงพวกกลอง timpani, concert snare drum, concert bass drum, concert toms, chimes (ระฆัง), temple blocks, gongs, ฉาบหลายๆ รูปแบบ, กลองแปลกๆ, และเครื่องดนตรีเล็กๆ ประกอบจังหวะเช่น triangle, tambourine, whip crack – ยังมีอีกมากมาย

 

พวกที่เล่น front ensemble นี้ แยกออกมาต่างหากจากพวกที่เดินแปลขบวน โดยพวกนี้จะมีที่อยู่ที่เกือบจะเรียกว่าถาวรและถูกกำหนดไว้แล้วแต่ก็อยู่ใกล้ๆ กับพวกที่เดินแปรขบวนอยู่

 

3. color guard

พวก color guard ทำให้รูปแบบการแปรขบวนในสนามงดงามยิ่งขึ้น โดยใช้พวกธง, rifles และ sabres

 

พวกเครื่องมือเหล่านี้ต้องนับย้อนไปสมัยสงคราม (อเมริกัน-อังกฤษ ฯลฯ) วงโยสมัยโบราณต้องมีพวกที่ถือปืนคอยคุ้มกันวงด้วย

 

สมัยปัจจุบันนี้ พวก color guard พวก rifles และ sabers (ดาบ) ทั้งหลายจะถูกออกแบบให้โชว์การหมุน ควง โยน(spinning) ซึ่งเป็นทักษะอย่างหนึ่งของพวกนี้มากกว่าที่จะยิงคนดู (เออจริงแฮะ)

 

พวก Color guards ก็ต้องมีท่าทางหรือเต้นประกอบเพลงด้วย รวมทั้งการเต้นแบบใช้ท่าทางทางร่างกาย และก็ออกแนวการแสดงด้วย เพื่อช่วยประกอบเพลงให้ดูดี น่าสนใจขึ้น

 

- นอกจากนั้น ก็ยังมี drum majors จำนวน 2-3 คน ทำหน้าที่กำกับเพลงในสนาม และ ทำหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือ ดูแลความเป็นอยู่และทำหน้าที่เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างนักดนตรีในวงกับพวก staff ด้วย

 

 

 

On the road again และแล้ว เราก็มุ่งหน้าสู่การแข่งขัน..ออกเดินทางกันเลยยย...

 

แล้วชีวิตของพวก drum and bugle corps ก็เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน, วงส่วนใหญ่จะมีการจัดค่าย audition (แสดงฝีมือเพื่อคัดตัว) ครั้งแรกในช่วงเทศกาล Thanksgiving พอดี.

 

ทว่าในช่วงนั้น staff, หัวหน้าแต่ละพาร์ทหรือ section/caption กำลังทำงานหนักในการออกแบบโชว์ว่าจะใช้เพลง จะมีไสตล์ รูปแบบการโชว์อย่างไร และเลือกโปรแกรมฝึก ฯลฯ ให้เหมาะสม.

 

ค่าย Audition นี้ ผู้ที่จะเข้ามาสอบ audition เพื่อจะเข้ามาสู่วง แม้ว่าหลายคนจะไม่ผ่านการคัดเลือก ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ที่จะได้เข้ามาเรียนรู้ ศึกษาในประสบการณ์ดนตรี

 

กระบวนการคัดเลือกจะเสร็จสิ้นในช่วงปีใหม่ และมีการเรียนการสอนเรื่องดนตรีนี้ตลอดช่วงหน้าหนาวและฤดูใบไม้ผลิที่เหลือนี้ไปกับการเรียน (ซ้อม) และการขัดเกลาดนตรี. วงส่วนใหญ่จะเริ่มหัดแปรขบวน (drill) ในช่วงท้ายๆ ของ spring, และในช่วงวัน Memorial Day weekend ทุกอย่างก็พร้อมลงตัว

 

ปลายเดือนพฤษภาคมและช่วงต้นๆ มิถุนายน จะมีการซ้อมหนัก 12 ชั่วโมงต่อวัน, โดยไปฝึกซ้อมที่ที่ตั้งหลักของวง. ช่วงนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ช่วง “everydays” “move-ins” หรือ “spring training,” และในช่วง 3-4 อาทิตย์นี้, สมาชิกทบทวนและฝึกหัดแบบฝึกหัดต่างๆ และเบสิกต่างๆ ที่จะทำให้ฝีมือดีขึ้นพอที่จะทำให้ทักษะทางดนตรีดีขึ้นพร้อมที่จะไปทัวัร์ตลอดช่วงฤดูร้อนแล้ว, และการฝึกซ้อมภาคสนามก็จบลงแล้ว.

 

วงอาจจะฝึกเพลงอื่น ๆ บ้างเพื่อเอาไว้เดินพาเหรดหรือการยืนแสดงธรรมดาทั่วๆ ไป ช่วงเวลานี้ทำให้คนในวงรู้จักกันเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

     

 

 

เมื่อถึง กลางเดือนมิถุนายน, ก็เริ่มการเดินทาง ขนของขึ้นรถและทัวร์ไปตลอด 8 อาทิตย์

 

คำว่า “ทัวร์” ในที่นี้หมายถึงช่วงการแข่งนั่นเอง

 

เรียกได้ว่า หนึ่งวันต้องเดินทางไปหนึ่งเมืองหรือมากกว่านั้น มีการแสดงเกือบทุกคืน ในวันที่ต้องโชว์ปกตินั้น จะตื่นประมาณ 8 โมงเช้า, ซ้อมสองสามชั่วโมง, อาบน้ำเก็บของ, โชว์ และขึ้นรถ มุ่งไปโชว์ต่ออีกเมืองหรืออีกสถานที่หนึ่ง

 

ในวันไหนที่ไม่มีการแสดงก็จะมีการซ้อมทั้งวัน 8-10 ชั่วโมง. นอกจากการแข่งแล้ว. วงจะมีการแสดงแบบเดินพาเหรดและยืนโชว์ด้วย (ไม่เดิน)

 

โดยทั่วไปวงจะมีการจัดคอร์สการสอนดนตรีพิเศษ (clinics) สองสามครั้งในฤดูร้อน. วงจะมีการให้เวลาสมาชิกในการทำกิจกรรมส่วนตัวเช่น ซักเสื้อผ้า, ซื้อของใช้ส่วนตัว หรือใช้เวลาส่วนตัวแต่ละคน

 

สมาชิกวงส่วนใหญ่จะใช้เวลานอน (ใช้ชีวิต) บนรถในระหว่างที่รถวิ่งในตอนกลางคืนมากกว่าครึ่งตลอดรายการ นอกนั้นก็นอนบนพื้นโรงยิมหรือที่เรียกว่า “floor time” ที่ใกล้ๆ กับที่แสดงที่วงหาให้ได้ วงจะทานอาหารจากอาสาสมัครผู้ให้การสนับสนุนวง (volunteer) โดยมีรถที่มีครัวทำอาหารโดยเฉพาะ,

 

การ Tour นี้เป็นช่วงเวลาที่นานที่สุดของ summer, ยาวจนกระทั่งจบการแข่งขัน DCI Championships เลยทีเดียว

 

 

 

 

ขบวนของวงๆ หนึ่งก็จะประกอบไปด้วยรถบัสสองสามคัน, รถเครื่องดนตรีหรืออุปกรณ์หนึ่งคันและรถครัวหนึ่งคัน รถขายของที่ระลึกประจำวง, รถเล็กใช้วิ่งไปมาประจำวัน

 

ส่วนมากแล้วจะเดินทางกันตลอดรายการรวมระยะทางประมาณ 19,300 kilometer เลยทีเดียว!!!

 

การที่วงต้องเดินทางแบบนี้ นับเป็นอะไรที่วงต้องใช้เงินมาก วงใน Div. I หลายๆ วงมีเงินทุนประมาณ 18 ล้านบาท ถึง 71 ล้านบาท ในขณะที่สมาชิกอาจจะจ่ายเพียงแค่ 23,000 บาท – 70,000 บาท เป็นค่าสมาชิกและค่าอยู่ค่าย,

 

เงินที่สมาชิกจ่ายนี้รวมๆ กันแล้วน้อยมากได้ประมาณแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้ต่อคนที่ทำให้วงอยู่ได้

 

ของที่ระลึกและค่าชมการแสดงช่วยวงได้นิดหน่อย ส่วนใหญ่แล้วรายได้ของวงมาจากการหาบริจาคเงินมาจากผู้คนจากสมาคมและจากผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ ที่ยังพยุงวงให้อยู่ได้ .

 

เมื่อสมาชิกของวงก็ต้องจ่ายค่าสมาชิกฯลฯ และก็ไม่ได้ทำงานหาเงินในช่วงปิดเทอม (ตามแบบของเด็กอเมริกัน) ก็เลยไม่มีรายได้อะไรในช่วงนี้

 

ดังนั้น หัวหน้าวง (directors) จึงต้องหาวิธีที่จะทำให้สมาชิกไม่ลำบากด้วย

 

 

 

The circus is coming to town! ขบวนมหึมาของ drum corps !!!

นอกจากสมาชิกในวงแล้ว วงก็ยังมีเจ้าหน้าที่อื่นๆ อีกส่วนหนึ่งเช่น

 

staff ที่ทำหน้าที่บริหารวง 2-4 คน, คนขับรถ 8-9 คน อาสาสมัคร 4-8 คน และยังมีครูฝึกอีก 15-30 คน สรุปแล้ววงหนึ่งอาจจะมีเจ้าหน้าที่และนักดนตรีรวมกันถึง 180 คน

 

เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่บริหารวงหรือ administrative staff นี้ก็คือ, ผู้อำนวยการวง corps director, ผู้อำนวยการทัวร์ (tour director), และผู้ช่วยหลายคนที่เดินทางไปด้วยและทำงานอยู่ที่บ้านโดยทำงานประสานเรื่องต่างๆ ประจำวันของวง, รวมทั้งเรื่องการเงินการบัญชี, การติดต่อเรื่องที่พัก, การบริหารพลาธิการอาหารต่างๆ และพนักงานขับรถ รวมทั้งเรื่องจุกจิกอื่น ๆ การไปรับคนจากสนามบิน, ซื้อของใช้อาหารประจำวันและพาสมาชิกไปหาหมอเป็นต้น

 

อาสาสมัครนับเป็นส่วนสำคัญของวงมากในการทำงานวันๆ หนึ่งของวง พวกเขาทำงานหลายอย่างที่จำเป็นในวง ไม่ว่าจะเป็นการขับรถทั้งคืนและการทำงานให้กับคนทั้งวงทุกวันดูแลยานพาหนะ ดูแลเรื่องเสื้อผ้าให้กับวง ดูแลสุขภาพ ยา อนามัย และเป็นที่ปรึกษาทางใจให้กับสมาชิกของวงที่ว้าเหว่เพราะอาจจะจากบ้านมาไกลด้วย

 

 

 

 

And you pay to do this? เล่นแล้วได้อะไร

 

Drum corps ไม่ใช่เพียงแค่การแปรขวบนและการเล่นดนตรีเท่านั้น นักดนตรีจะต้องเดินทางไปหลากหลายเมือง เจอกับคนร้อยพ่อพันแม่ต่างจิตต่างใจ นิสัย รสนิยมและพฤติกรรมต่างๆ ก็แตกต่างกัน

 

สมาชิกจะได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และพวกเขาก็ต้องมีความรับผิดชอบอย่างมากต่อตัวเองและผู้อื่น การบริหารเวลาและการบริหารเงินด้วย

 

และก็แน่นอนที่ว่า การซ้อมในสนามทุกวันนั้น เขาจะต้องเจอกับบทเรียนของชีวิตในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวินัย, การปฏิบัติตัว การทำงานที่มุ่งสู่เป้าหมาย ฯลฯ บทเรียนของชีวิตเหล่านี้แหละที่จะติดตัวเขาไปแม้ว่าเขาจะไม่ได้เล่นอยู่ในวงแล้ว

 

 

ถ้าเราไปถามคนที่อยู่วง drum corps ว่าทำไมถึงรัก drum corps, ก็อาจจะได้คำตอบต่างกันไปไม่เหมือนกันเลย. หลายคนก็อาจจะบอกว่าได้เพื่อนเยอะแยะมากมาย, ได้รางวัล หรือได้หลีกหนีชีวิตความเป็นจริงที่วุ่นวาย

 

 

 

กระนั้น สำหรับคนทั่วไปสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คือการได้ใส่ชุด และลงแสดงทุกคืนท่ามกลางเสียงปรบมือโห่ร้องชื่นชมยินดี

 

การที่ได้แสดงถือเป็นรางวัลแห่งชีวิตจากการทำงานหนัก และบำบัดสิ่งร้ายๆ ที่สะสมอยู่ก้นบึ้งของดวงใจของคุณได้

 

การได้ประสบการณ์จาก drum corps นั้นถือเป็นรางวัลชีวิตและสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพกับผู้คนอันหลากหลายที่ยั่งยืนนั้น นับเป็นสิ่งที่มากค่าที่คนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนยากที่จะเข้าใจได้

 

มันเป็นกิจกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นเสน่ห์เย้ายวน และคุณจะต้องแปลกใจว่า ใครที่ได้ชมแล้วก็ต้องติดอกติดใจอยากชมอีกทุกปี

 

 

 

 

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นทรัพย์สินของวง ACT Band ซึ่งนำไปเผยแพร่ได้ แต่ต้องโทรขออนุญาตผู้แปลก่อนนะครับ

 

หากท่านต้องการนำไปใช้ (ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปแปะ ไปทำรายงาน ไปเสนออาจารย์ ฯลฯ) ช่วยโทรมาที่ผู้แปลได้ที่ 081-3450005

หรือ email wissawa@hotmail.com นะครับ




บทความ

Absolute
การดูแลรักษาชุดวงโยธวาทิต article



dot
สินค้าและบริการ
dot
bulletชุดวงโยธวาทิต / Uniforms
bulletชุดแบบใหม่ / New Designs
bulletคัลเลอร์การ์ด / Guard Uniforms
bulletอุปกรณ์ประกอบการแสดง
bulletธง / Flags
bulletหมวกทรงกระบอก / shako
bulletหมวกทรงคาวาเลียร์ / Cavalier
bulletหมวกทรงเมดิสัน / Madison
bulletหมวกทรงเฮลเมท / Helmet
bulletพู่หมวกแบบต่างๆ / Plumes
bulletหน้าหมวก / Emblems
bulletรองเท้า / Shoes
bulletป้ายหน้าวง/Banner
dot
ชุดคอนเสิร์ต/Concert Wear
dot
bulletชุดคอนเสิร์ท
dot
สื่อการสอน
dot
bulletDVD
bulletCD
bulletโน๊ตแบบฝึกหัด
dot
โปรโมชั่น
dot
bulletโปรตามใจ
dot
Link
dot




Copyright © 2010 All Rights Reserved.

แอ๊บโซลุท แบนด์ ยูนิฟอร์มส์
231 ซอยสะแกงาม 35/2 แยก3 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
โทร. 02-462-0879, 089-200-9909  
e-mail : absolute_band@hotmail.com