แปลและเรียบเรียงจากบทความใน dci.org หัวข้อ "about dci"
โดย วิศว กนิษฐสวัสดิ์ ลิขสิทธิ์ของ : ACT Band
วงในไสตล์ Drum corps นั้น ชื่อเต็มๆ ก็คือ Modern junior drum and bugle corps เป็นองค์กรอิสระของคนวัยหนุ่มสาว บางวงมีสมาชิกมากถึง 135 คน อายุตั้งแต่ 14-22 ปี คนเหล่านี้ทำงาน,ซ้อมตลอดช่วงฤดูร้อน เพื่อแสดงสั้น ๆ เพียง 11 นาทีเท่านั้น
เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงก็ได้แก่ Horn (แตร), เครื่องประกอบจังหวะ เช่น กลองหลากหลายชนิด และอุปกรณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น ธง, rifles (ปืน), ดาบ(sabres), และอื่นๆ อีกมากมาย โดยมีการแสดงสนามอเมริกันฟุตบอลล์ (หรือสนามอื่นๆ แล้วแต่กรณี)
สิ่งที่แตกต่างจากวงมาร์ชชิ่งธรรมดาก็คือ วงแบบ drum corps ไม่มี woodwinds (clarinets, flutes, etc.) ในวง, และวงแบบ drum corps มีเครื่องทองเหลืองบางอย่างที่ไม่เหมือนวงมาร์ชิ่งทั่ว ๆ ไปที่เราเห็นๆ กัน (ยกตัวอย่างเช่น drum corps ไม่มี slide trombone: ผู้แปล)
Drum corps มีความแน่นของดนตรี และมีลีลาสีสันการแสดงจัดจ้าน, มีความยากในการแสดงมากกว่าวงมาร์ชิ่งทั่วไป
นอกจากนั้น ยังมีข้อกำหนดอื่น ๆ (หรือเรียกว่าเป็นพันธะสัญญาร่วมกันของพวกเขาก็ได้)ของdrum corps เช่น : ทุกคนจะต้องซ้อมด้วยกันเป็นเวลา 3-4 อาทิตย์ ทุกวัน และเดินทางเพื่อไปทัวร์(ทั้งแข่งและโชว์) เป็นเวลา 8 อาทิตย์ โดยไม่ได้ทำอย่างอื่นเลย ได้แต่ซ้อมๆๆๆๆๆๆๆ เท่านั้น เชื่อหรือไม่ว่า หลายคน ต้องจ่ายเงิน เพื่อไปเล่นในวงที่ตัวเองต้องการ (ไม่ได้เชิญมาเล่น หรือเล่นให้ฟรีๆ นะ)
จะเป็นสมาชิกของวงได้นั้น โดยทั่วไป ต้องผ่านการกระบวนคัดเลือกอย่างโคตรยาก เพียงเพื่อที่จะได้รับการคัดเลือกเข้าสู่วงที่ตัวเองต้องการ และข้อสุดท้าย แต่สำคัญที่สุด drum corps (ส่วนใหญ่ ไม่ทุกวง) ไม่ได้เป็นวงโรงเรียนหรือวงของมหาลัย (เป็นวงอิสระ ไม่ขึ้นกับใคร)
Drum corps แบ่งออกเป็น 3 divisions ซึ่งตัววงเองต้องหาให้ได้ก่อนว่า วงของของตัวเองนั้น เป็นดิวิชั่นไหน จะได้เลือกตารางเวลาในการทัวร์ที่เหมาะสมกับเงินของวง ทรัพยากร และแนวคิดของวงให้ได้เหมาะสมที่สุด
การแบ่ง divisions ขึ้นอยู่กับจำนวนนักดนตรี
- Division I มีนักดนตรีมากถึง 135 คน
- Division II มีนักดนตรี 80-135 คน
- Division III เล็กสุด มีนักดนตรี 30-70 คน
วงที่มีนักดนตรีอยู่ระหว่าง 70 - 80 คน ต้องเลือกว่า ตัวเองอยากอยู่ Division ไหน Division II หรือ III และ สำหรับวงใน Division II ที่ต้องการจะข้ามรุ่นไปแข่งกับ Division I จะต้องมีกระบวนการพิเศษที่จะเลื่อนขั้นขึ้นไปได้
อายุของนักดนตรีก็หลากหลายกันออกไปตามแต่ละ divisions
Division III เด็กสุดส่วนมากต่ำกว่า 10 ขวบ
แต่เด็กสุดของ Division I อาจจะอายุน้อยที่สุดแค่ 14- 15 ปี เท่านั้น
ข้อกำหนดของ DCI นั้น อายุสูงสุดคือ ต้องไม่เกินกว่า 21 ปี (คือ 21 ok หรือน้อยกว่าก็ได้) ถ้ามากกว่านี้เรียกว่า อายุเกินแข่งหรือ aged out
แต่ละ division ก็มีมาตรฐานการตัดสินที่ไม่เหมือนกัน(คนละ sheetหรือคนละข้อสอบนั่นเอง)
โดยที่ Division I จะเป็นการโชว์ที่ยากที่สุด
สำหรับวงใน division ที่ต่ำกว่า บางทีก็เป็นวงในสังกัดของ Division I แต่เป็นวงเด็กๆ รุ่นใหม่ที่กำลังก้าวเข้ามาแทนวงรุ่นพี่ (คือวงใหญ่ๆ เก่งๆ พวกนี้จะมีวงระดับเด็กๆ ชื่อเดียวกัน มาเป็นวงทีม a, b, c ด้วย) , ซึ่งก็ทำให้นักดนตรีรุ่นจิ๋วๆ ประมาณ 8 ขวบสามารถเล่น drum corps และสามารถพัฒนาตัวเองมาเล่นวงจริงได้ และฝังตัวอยู่ในวงนั้นตั้งแต่เด็กจนกระทั่งกลายเป็นสมาชิกรุ่นเก๋าไปเลย (เลยอายุแข่งก็ยังทำงานให้วงได้ต่อ เป็นรุ่นพี่หรือครูฝึก staff ต่อไป ฯลฯ)
มีหลายวงที่อยู่ในระดับอื่นๆ อีกนอกจาก 3 กลุ่มนี้เช่น วงที่ตั้งในพื้นที่ ตามเมือง วงของตำบล, วงแบบซ้อมกันเวลาว่างๆ เล่นๆ , ซึ่งวงพวกนี้ซ้อมกันแค่อาทิตย์ละสองหรือสามครั้ง และแสดงแค่ตอนวันหยุดสุดสัปดาห์เท่านั้น นี่ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับเด็กที่ไม่สามารถมาซ้อมได้เนื่องจากติดเรียน ติดงาน ติดกวดวิชาฯลฯ และพวกที่ไม่สามารถเดินทางไปไหนไกลๆ ได้
จริงๆ แล้วการทัวร์ไปกับวงเก่งๆ หรือว่าเดินทางไปที่โน่นที่นี่มันก็ดีอยู่แต่ เพียงแค่ได้ไปเล่นในวง drum corps นี่ก็นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่าเพียงพอแล้วไม่ว่าจะเล่นกับวงไหน
เค้าบอกว่า its not where you march, its that you march
ไม่สำคัญว่าเล่นกับวงไหนแต่สำคัญที่ว่า คุณได้เล่นวง drum corps แค่นี้ก็ "จงภูมิใจ" ได้แล้ว
"มีอะไรบ้างใน drum corps ผู้เล่น Drum corps แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. Brass (เครื่องทองเหลือง)
ในส่วนของเครื่องทองเหลือง หรือ brass line, มีเครื่องดนตรี 5 ชนิดคือ
trumpet (ให้เสียง soprano ),
mellophone (ให้เสียง alto )
baritone (ให้เสียงtenor/baritone )
euphonium (ให้เสียง baritone voice), และ
contrabass (ให้เสียง bass )
ยิ่งเสียงต่ำเท่าไหร่ เครื่องก็ใหญ่ขึ้นเท่านั้น trumpet จะหนักประมาณ 2.2 -2.7 กก. , แต่ contra (เบส) , หนักถึงประมาณ 27.2 กิโลกรัมเลยทีเดียว !! เรียกได้ว่าคล้ายๆ จะแบกรถคันย่อมๆ ไว้เลยนะ
2. Percussion (เครื่องประกอบจังหวะ ) มี 2 กลุ่ม ได้แก่ Back battery และ Front ensemble
- Back Battery (หรือเรียกว่าพวก drumline) กลุ่ม back battery คือ
พวกกลองแต๊กหรือ snare drums
tenor drums (หรือพวก quads ซึ่งเป็นกลองที่เป็นชุดอาจจะเป็น 4-6 ลูกเล็ก มีเสียงแตกต่างกัน) และ
bass drums (หรือกลองใหญ่ เดี๋ยวนี้มีเสียงแตกต่างกันไล่เสียงกันไปและมีขนาดกัน ใช้ผู้เล่นใบละคน)
- Front ensemble หรือ pit percussion คือพวกที่เล่นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอยู่ข้างหน้า พวก front ensemble
ขยายความก็คือพวกที่เล่นเครื่องดนตรีที่เรียกว่า คีย์บอร์ดเปอร์คัสชั่น (หมายถึงพวกเครื่องประกอบจังหวะที่มีคีย์บอร์ด เช่น marimba และ xylophone, ซึ่งคีย์ทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์, และ vibraphone และ bells (คนไทยสมัยโบราณเรียกนิ้งหน่องไง) , ซึ่งคีย์ทำด้วยโลหะ -- รวมถึงพวกกลอง timpani, concert snare drum, concert bass drum, concert toms, chimes (ระฆัง), temple blocks, gongs, ฉาบหลายๆ รูปแบบ, กลองแปลกๆ, และเครื่องดนตรีเล็กๆ ประกอบจังหวะเช่น triangle, tambourine, whip crack ยังมีอีกมากมาย
พวกที่เล่น front ensemble นี้ แยกออกมาต่างหากจากพวกที่เดินแปลขบวน โดยพวกนี้จะมีที่อยู่ที่เกือบจะเรียกว่าถาวรและถูกกำหนดไว้แล้วแต่ก็อยู่ใกล้ๆ กับพวกที่เดินแปรขบวนอยู่
3. color guard
พวก color guard ทำให้รูปแบบการแปรขบวนในสนามงดงามยิ่งขึ้น โดยใช้พวกธง, rifles และ sabres
พวกเครื่องมือเหล่านี้ต้องนับย้อนไปสมัยสงคราม (อเมริกัน-อังกฤษ ฯลฯ) วงโยสมัยโบราณต้องมีพวกที่ถือปืนคอยคุ้มกันวงด้วย
สมัยปัจจุบันนี้ พวก color guard พวก rifles และ sabers (ดาบ) ทั้งหลายจะถูกออกแบบให้โชว์การหมุน ควง โยน(spinning) ซึ่งเป็นทักษะอย่างหนึ่งของพวกนี้มากกว่าที่จะยิงคนดู (เออจริงแฮะ)
พวก Color guards ก็ต้องมีท่าทางหรือเต้นประกอบเพลงด้วย รวมทั้งการเต้นแบบใช้ท่าทางทางร่างกาย และก็ออกแนวการแสดงด้วย เพื่อช่วยประกอบเพลงให้ดูดี น่าสนใจขึ้น
- นอกจากนั้น ก็ยังมี drum majors จำนวน 2-3 คน ทำหน้าที่กำกับเพลงในสนาม และ ทำหน้าที่ที่สำคัญมากก็คือ ดูแลความเป็นอยู่และทำหน้าที่เป็นตัวกลางการสื่อสารระหว่างนักดนตรีในวงกับพวก staff ด้วย
On the road again และแล้ว เราก็มุ่งหน้าสู่การแข่งขัน..ออกเดินทางกันเลยยย...
แล้วชีวิตของพวก drum and bugle corps ก็เริ่มขึ้นในเดือนพฤศจิกายน, วงส่วนใหญ่จะมีการจัดค่าย audition (แสดงฝีมือเพื่อคัดตัว) ครั้งแรกในช่วงเทศกาล Thanksgiving พอดี.
ทว่าในช่วงนั้น staff, หัวหน้าแต่ละพาร์ทหรือ section/caption กำลังทำงานหนักในการออกแบบโชว์ว่าจะใช้เพลง จะมีไสตล์ รูปแบบการโชว์อย่างไร และเลือกโปรแกรมฝึก ฯลฯ ให้เหมาะสม.
ค่าย Audition นี้ ผู้ที่จะเข้ามาสอบ audition เพื่อจะเข้ามาสู่วง แม้ว่าหลายคนจะไม่ผ่านการคัดเลือก ก็ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ที่จะได้เข้ามาเรียนรู้ ศึกษาในประสบการณ์ดนตรี
กระบวนการคัดเลือกจะเสร็จสิ้นในช่วงปีใหม่ และมีการเรียนการสอนเรื่องดนตรีนี้ตลอดช่วงหน้าหนาวและฤดูใบไม้ผลิที่เหลือนี้ไปกับการเรียน (ซ้อม) และการขัดเกลาดนตรี. วงส่วนใหญ่จะเริ่มหัดแปรขบวน (drill) ในช่วงท้ายๆ ของ spring, และในช่วงวัน Memorial Day weekend ทุกอย่างก็พร้อมลงตัว
ปลายเดือนพฤษภาคมและช่วงต้นๆ มิถุนายน จะมีการซ้อมหนัก 12 ชั่วโมงต่อวัน, โดยไปฝึกซ้อมที่ที่ตั้งหลักของวง. ช่วงนี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ช่วง everydays move-ins หรือ spring training, และในช่วง 3-4 อาทิตย์นี้, สมาชิกทบทวนและฝึกหัดแบบฝึกหัดต่างๆ และเบสิกต่างๆ ที่จะทำให้ฝีมือดีขึ้นพอที่จะทำให้ทักษะทางดนตรีดีขึ้นพร้อมที่จะไปทัวัร์ตลอดช่วงฤดูร้อนแล้ว, และการฝึกซ้อมภาคสนามก็จบลงแล้ว.
วงอาจจะฝึกเพลงอื่น ๆ บ้างเพื่อเอาไว้เดินพาเหรดหรือการยืนแสดงธรรมดาทั่วๆ ไป ช่วงเวลานี้ทำให้คนในวงรู้จักกันเพิ่มมากขึ้นด้วย
เมื่อถึง กลางเดือนมิถุนายน, ก็เริ่มการเดินทาง ขนของขึ้นรถและทัวร์ไปตลอด 8 อาทิตย์
คำว่า ทัวร์ ในที่นี้หมายถึงช่วงการแข่งนั่นเอง
เรียกได้ว่า หนึ่งวันต้องเดินทางไปหนึ่งเมืองหรือมากกว่านั้น มีการแสดงเกือบทุกคืน ในวันที่ต้องโชว์ปกตินั้น จะตื่นประมาณ 8 โมงเช้า, ซ้อมสองสามชั่วโมง, อาบน้ำเก็บของ, โชว์ และขึ้นรถ มุ่งไปโชว์ต่ออีกเมืองหรืออีกสถานที่หนึ่ง
ในวันไหนที่ไม่มีการแสดงก็จะมีการซ้อมทั้งวัน 8-10 ชั่วโมง. นอกจากการแข่งแล้ว. วงจะมีการแสดงแบบเดินพาเหรดและยืนโชว์ด้วย (ไม่เดิน)
โดยทั่วไปวงจะมีการจัดคอร์สการสอนดนตรีพิเศษ (clinics) สองสามครั้งในฤดูร้อน. วงจะมีการให้เวลาสมาชิกในการทำกิจกรรมส่วนตัวเช่น ซักเสื้อผ้า, ซื้อของใช้ส่วนตัว หรือใช้เวลาส่วนตัวแต่ละคน
สมาชิกวงส่วนใหญ่จะใช้เวลานอน (ใช้ชีวิต) บนรถในระหว่างที่รถวิ่งในตอนกลางคืนมากกว่าครึ่งตลอดรายการ นอกนั้นก็นอนบนพื้นโรงยิมหรือที่เรียกว่า floor time ที่ใกล้ๆ กับที่แสดงที่วงหาให้ได้ วงจะทานอาหารจากอาสาสมัครผู้ให้การสนับสนุนวง (volunteer) โดยมีรถที่มีครัวทำอาหารโดยเฉพาะ,
การ Tour นี้เป็นช่วงเวลาที่นานที่สุดของ summer, ยาวจนกระทั่งจบการแข่งขัน DCI Championships เลยทีเดียว
ขบวนของวงๆ หนึ่งก็จะประกอบไปด้วยรถบัสสองสามคัน, รถเครื่องดนตรีหรืออุปกรณ์หนึ่งคันและรถครัวหนึ่งคัน รถขายของที่ระลึกประจำวง, รถเล็กใช้วิ่งไปมาประจำวัน
ส่วนมากแล้วจะเดินทางกันตลอดรายการรวมระยะทางประมาณ 19,300 kilometer เลยทีเดียว!!!
การที่วงต้องเดินทางแบบนี้ นับเป็นอะไรที่วงต้องใช้เงินมาก วงใน Div. I หลายๆ วงมีเงินทุนประมาณ 18 ล้านบาท ถึง 71 ล้านบาท ในขณะที่สมาชิกอาจจะจ่ายเพียงแค่ 23,000 บาท 70,000 บาท เป็นค่าสมาชิกและค่าอยู่ค่าย,
เงินที่สมาชิกจ่ายนี้รวมๆ กันแล้วน้อยมากได้ประมาณแค่ 10 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ต้องจ่ายให้ต่อคนที่ทำให้วงอยู่ได้
ของที่ระลึกและค่าชมการแสดงช่วยวงได้นิดหน่อย ส่วนใหญ่แล้วรายได้ของวงมาจากการหาบริจาคเงินมาจากผู้คนจากสมาคมและจากผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ ที่ยังพยุงวงให้อยู่ได้ .
เมื่อสมาชิกของวงก็ต้องจ่ายค่าสมาชิกฯลฯ และก็ไม่ได้ทำงานหาเงินในช่วงปิดเทอม (ตามแบบของเด็กอเมริกัน) ก็เลยไม่มีรายได้อะไรในช่วงนี้
ดังนั้น หัวหน้าวง (directors) จึงต้องหาวิธีที่จะทำให้สมาชิกไม่ลำบากด้วย
The circus is coming to town! ขบวนมหึมาของ drum corps !!!
นอกจากสมาชิกในวงแล้ว วงก็ยังมีเจ้าหน้าที่อื่นๆ อีกส่วนหนึ่งเช่น
staff ที่ทำหน้าที่บริหารวง 2-4 คน, คนขับรถ 8-9 คน อาสาสมัคร 4-8 คน และยังมีครูฝึกอีก 15-30 คน สรุปแล้ววงหนึ่งอาจจะมีเจ้าหน้าที่และนักดนตรีรวมกันถึง 180 คน
เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่บริหารวงหรือ administrative staff นี้ก็คือ, ผู้อำนวยการวง corps director, ผู้อำนวยการทัวร์ (tour director), และผู้ช่วยหลายคนที่เดินทางไปด้วยและทำงานอยู่ที่บ้านโดยทำงานประสานเรื่องต่างๆ ประจำวันของวง, รวมทั้งเรื่องการเงินการบัญชี, การติดต่อเรื่องที่พัก, การบริหารพลาธิการอาหารต่างๆ และพนักงานขับรถ รวมทั้งเรื่องจุกจิกอื่น ๆ การไปรับคนจากสนามบิน, ซื้อของใช้อาหารประจำวันและพาสมาชิกไปหาหมอเป็นต้น
อาสาสมัครนับเป็นส่วนสำคัญของวงมากในการทำงานวันๆ หนึ่งของวง พวกเขาทำงานหลายอย่างที่จำเป็นในวง ไม่ว่าจะเป็นการขับรถทั้งคืนและการทำงานให้กับคนทั้งวงทุกวันดูแลยานพาหนะ ดูแลเรื่องเสื้อผ้าให้กับวง ดูแลสุขภาพ ยา อนามัย และเป็นที่ปรึกษาทางใจให้กับสมาชิกของวงที่ว้าเหว่เพราะอาจจะจากบ้านมาไกลด้วย
And you pay to do this? เล่นแล้วได้อะไร
Drum corps ไม่ใช่เพียงแค่การแปรขวบนและการเล่นดนตรีเท่านั้น นักดนตรีจะต้องเดินทางไปหลากหลายเมือง เจอกับคนร้อยพ่อพันแม่ต่างจิตต่างใจ นิสัย รสนิยมและพฤติกรรมต่างๆ ก็แตกต่างกัน
สมาชิกจะได้เรียนรู้การทำงานเป็นทีมและการอยู่ร่วมกับผู้อื่น และพวกเขาก็ต้องมีความรับผิดชอบอย่างมากต่อตัวเองและผู้อื่น การบริหารเวลาและการบริหารเงินด้วย
และก็แน่นอนที่ว่า การซ้อมในสนามทุกวันนั้น เขาจะต้องเจอกับบทเรียนของชีวิตในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวินัย, การปฏิบัติตัว การทำงานที่มุ่งสู่เป้าหมาย ฯลฯ บทเรียนของชีวิตเหล่านี้แหละที่จะติดตัวเขาไปแม้ว่าเขาจะไม่ได้เล่นอยู่ในวงแล้ว
ถ้าเราไปถามคนที่อยู่วง drum corps ว่าทำไมถึงรัก drum corps, ก็อาจจะได้คำตอบต่างกันไปไม่เหมือนกันเลย. หลายคนก็อาจจะบอกว่าได้เพื่อนเยอะแยะมากมาย, ได้รางวัล หรือได้หลีกหนีชีวิตความเป็นจริงที่วุ่นวาย
กระนั้น สำหรับคนทั่วไปสิ่งที่น่าตื่นเต้นที่สุดก็คือการได้ใส่ชุด และลงแสดงทุกคืนท่ามกลางเสียงปรบมือโห่ร้องชื่นชมยินดี
การที่ได้แสดงถือเป็นรางวัลแห่งชีวิตจากการทำงานหนัก และบำบัดสิ่งร้ายๆ ที่สะสมอยู่ก้นบึ้งของดวงใจของคุณได้
การได้ประสบการณ์จาก drum corps นั้นถือเป็นรางวัลชีวิตและสายสัมพันธ์แห่งมิตรภาพกับผู้คนอันหลากหลายที่ยั่งยืนนั้น นับเป็นสิ่งที่มากค่าที่คนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อนยากที่จะเข้าใจได้
มันเป็นกิจกรรมที่เป็นแรงบันดาลใจ เป็นเสน่ห์เย้ายวน และคุณจะต้องแปลกใจว่า ใครที่ได้ชมแล้วก็ต้องติดอกติดใจอยากชมอีกทุกปี
หมายเหตุ : บทความนี้เป็นทรัพย์สินของวง ACT Band ซึ่งนำไปเผยแพร่ได้ แต่ต้องโทรขออนุญาตผู้แปลก่อนนะครับ
หากท่านต้องการนำไปใช้ (ไม่ว่าจะเป็นการเอาไปแปะ ไปทำรายงาน ไปเสนออาจารย์ ฯลฯ) ช่วยโทรมาที่ผู้แปลได้ที่ 081-3450005
หรือ email wissawa@hotmail.com นะครับ